ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Web blog ครูปู โรงเรียนบ้านลำพระ อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

คำราชาศัพท์ หมวดร่างกาย

๑. คำราชาศัพท์ หมวดร่างกาย
           ผม          =         พระเกศา                    ไหปลาร้า              =             พระรากขวัญ
           หน้าผาก    =         พระนลาฎ                    ท้อง                   =             พระอุทร
           ฟัน          =         พระทนต์                      เอว                   =        บั้นพระองค์, พระกฤษฎี
           นิ้วมือ       =        
           นิ้วชี้         =
           เงา          =        
           ลิ้น          =          พระชิวหา                    หลัง                   =             พระขนอง พระองคุลี                    บ่า                    =             พระอังสะ          พระดรรชนี                  ขนระหว่างคิ้ว        =             พระอุณาโลม พระฉายา                    จอนหู                 =             พระกรรเจียก
                                        ผิวหน้า = พระราศี                  จมูก = พระนาสิก
                                        คาง =
                                        หู =
                                        ปอด = พระปับผาสะ               ปาก = พระโอษฐ์ พระหนุ                         อก = พระอุระ, พระทรวง พระกรรณ                        รักแร้ = พระกัจฉะ
                                        อุจจาระ = พระบังคนหนัก       น้ำตา =
                                                        ต้นขา =
                                        ดวงหน้า = พระพักตร์            สะดือ = พระนาภี น้ำพระเนตร, พระอุรุ พระอัสสุชล
                                        แข้ง =
                                        ผิวหนัง =
                                        คิ้ว =
                                        หัวเข่า = พระชานุ                     ต้นแขน = พระพาหุ พระชงฆ์                         ข้อมือ = ข้อพระหัตถ์ พระฉวี                       ข้อเท้า = ข้อพระบาท พระขนง                           ปัสสาวะ = พระบังคนเบา
                                        นิ้วก้อย =
                                         เนื้อ =
                                        เถ้ากระดูก =
                                        ลิ้นไก่ = มูลพระชิวหา                ไรฟัน = ไรพระทนต์ พระกนิษฐา                 คอ = พระศอ พระมังสา                         ขน = พระโลมา พระอังคาร             น้ำลาย = พระเขฬะ
                                        ตะโพก = พระโสณี                     เหงื่อ = พระเสโท
           จุก          =          พระโมฬี                     นม                    =             พระถัน, พระเต้า

ความหมายของคำราชาศัพท์

คำราชาศัพท์ คือ คำสุภาพที่ใช้ให้เหมาะสมกับฐานะของบุคคลต่างๆ คำราชาศัพท์เป็นการกำหนดคำและภาษาที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมอันดีงามของไทย แม้คำราชาศัพท์จะมีโอกาสใช้ในชีวิตน้อย แต่เป็นสิ่งที่แสดงถึงความละเอียดอ่อนของภาษาไทยที่มีคำหลายรูปหลายเสียงในความหมายเดียวกัน และเป็น ลักษณะพิเศษของภาษาไทย โดยเฉพาะ ซึ่งใช้กับบุคคลกลุ่มต่างๆ ดังต่อไปนี้
  1. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
  2. พระบรมวงศานุวงศ์
  3. พระภิกษุสงฆ์ สามเณร
  4. ขุนนาง ข้าราชการ
  5. สุภาพชน
        บุคคลในกลุ่มที่ 1 และ 2 จะใช้ราชาศัพท์ชุดเดียวกัน เช่นเดียวกับบุคคลในกลุ่มที่ 4 และ 5 ก็ใช้คำราชาศัพท์ในชุดเดียวกันและเป็นคำราชาศัพท์ที่เราใช้อยู่เป็นประจำในสังคมมนุษย์เราถือว่าการให้เกียรติแก่บุคคลที่เป็นหัวหน้าชุมชน หรือผู้ที่ชุมชนเคารพนับถือนั้น เป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของมนุษยชาติ ทุกชาติ ทุกภาษา ต่างยกย่องให้เกียรติแก่ผู้เ ป็นประมุขของชุมชนด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้นแทบทุกชาติ ทุกภาษาจึงต่างก็มี คำสุภาพ สำหรับใช้กับประมุขหรือผู้ที่เขาเคารพนับถือ จะมากน้อยย่อมสุดแต่ขนบประเพณีของชาติ และจิตใจของประชาชนในชาติว่ามีความเคารพในผู้เป็นประมุขเพียงใด เมืองไทยเราก็มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของชาติ และพระประมุขของเรา แต่ละพระองค์ทรงพระปรีชาสามารถ จึงทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีความ เคารพสักการะอย่างสูงสุดและมีความจงรกภักดีอย่างแนบแน่นตลอดมานับตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบันคำราชาศัพท์เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยใด
        ในแหล่งอ้างอิงบางฉบับได้ให้ข้อสันนิษฐานไว้ว่า คนไทยเริ่มใช้คำราชาศัพท์ในรัชสมัยพระธรรมราชาลิไท พระร่วงองค์ที่ 5 แห่งสุโขทัย เพราะศิลาจารึกต่างในแผ่นดินนั้น รวมทั้งบทพระราชนิพนธ์ของท่าน คือ ไตรภูมิพระร่วง ปรากฏว่ามีคำราชาศัพท์อยู่หลายคำ เช่น ราชอาสน์ พระสหาย สมเด็จ ราชกุมาร เสด็จ บังคม เสวยราชย์ ราชาภิเศก เป็นต้น
        บางท่านกล่าวว่า คำราชาศัพท์นั้นเริ่มใช้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะพระปฐมบรมกษัตริย์ที่ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยา ทรงนิยมเขมร ถึงกับเอาลัทธิและภาษาเขมรมาใช้ เช่น เอาคำว่า "สมเด็จ" ซึ่งเขมรใช้เป็นคำนำพระนามพระเจ้าแผ่นดินมาเป็นคำนำพระนามของพระองค์ และใช้ภาษาเขมรเป็นราชาศัพท์
        และจากหลักฐานที่พบข้อความในศิลาจารึกวัดศรีชุม กล่าวถึงเรื่องตั้งราชวงศ์และเมืองสุโขทัยตอนหนึ่งมีความว่า "พ่อขุนผาเมืองจึงอภิเสกพ่ขุนบางกลางหาวใหเมืองสุโขไท" คำว่า "อภิเษก" นี้เป็นภาษาสันสกฤต ไทยเรารับมาใช้สำหรับพิธีการแต่งตั้งตำแหน่งชั้นสูง จึงอยู่ในประเภทราชาศัพท์ และพิธีนี้มีมาตั้งแต่ราชวงศ์สุโขทัย จึงน่าสงสัยว่าในสมัยนั้นอาณาจักรสุโขทัยนี้ ก็คงจะมีการใช้คำราชาศัพท์บางคำกันแล้ว